วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หน่วยที่ 1 การเขียนแบบเบื้อนต้น

หน่วยที่ 1
ความรู้เบื้องต้นในการเขียนแบบ
ความหมายและความสำคัญของงานเขียนแบบ
            งานออกแบบเขียนแบบ เป็นงานที่แสดงออกให้เห็นถึงผลงานที่มนุษย์ได้มีการออกแบบ บ่งบอกถึงความคิดที่สร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานในด้านต่าง ๆ เช่น สถาปัตยกรรม วิศวกรรมและศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งแสดงความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมในแต่ละยุคแต่ละสมัยอีกด้วย ในประเทศไทยสามารถพบเห็นสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ได้จากโบราณสถาน หรือโบราณวัตถุต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งผลงานที่ได้จากการออกแบบเขียนแบบ ออกมาจากความคิดและจินตนาการของผู้ออกแบบ แล้วจึงนำไปสร้างหรือผลิตเป็นชิ้นงาน โดยนำมาประยุกต์ร่วมกับความรู้วิชาการสาขาอื่น ๆ จนสำเร็จ
การเขียนแบบ หมายถึง การนำความคิดสร้างสรรค์มาเขียนหรือแสดงออกเป็นรูปแบบ โดยการใช้เส้นรูปภาพ หรือสัญลักษณ์ พร้อมรายการประกอบแบบ เป็นการแสดงให้เห็นรูปลักษณะที่เหมือนของจริง สามารถนำไปใช้สร้างหรือผลิตชิ้นงานได้จริง เป็นการแสดงโครงสร้าง รูปด้าน รูปลักษณะภายในของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ซึ่งแบบที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่ รูปแปลน (Plan) รูปด้าน (Elevation) รูปตัด (Section) และรูปขยาย (Detail)
งานออกแบบเขียนแบบ ถือได้ว่าเป็นวิชาพื้นฐานของงานช่างเกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นงานไม้ งานปูน งานโลหะ หรืองานอื่น ๆ จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ ในการสร้างหรือผลิต และซ่อมแซมปรับปรุงชิ้นงาน ซึ่งสิ่งแระที่ผู้ผลิตผลงานจะต้องทำคือ การวางแผนออกแบบเขียนแบบชิ้นงานเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานต่อไป
เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์งานเขียนแบบ

โต๊ะเขียนแบบ เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญและจำเป็นในการเขียนแบบ ซึ่งผู้เขียนแบบต้องปฏิบัติงานบนโต๊ะเขียนแบบตลอดเวลาการเขียนชิ้นงานจนสำเร็จ พื้นโต๊ะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า บริเวณขอบด้านข้างของโต๊ะต้องตรงและได้ฉากกับขอบด้านล่างและด้านบน ความสูงของโต๊ะสามารถปรับสูงต่ำได้ตามความเหมาะสมของผู้เขียนแบบ ดังรูป
รูปแสดงโต๊ะเขียนแบบ ( อำนวย.เขียนแบบเทคนิค, 2544 : 1)  




กระดาษเขียนแบบ เป็นอุปกรณ์เขียนแบบ ที่ผู้เขียนแบบถ่ายถอดสิ่งต่าง ๆ หรือชิ้นงานลงบนกระดาษเขียนแบบ
ตารางเปรียบเทียบขนาดกระดาษเขียนแบบระบบเมตริกและระบบอังกฤษ นริศ.เขียนแบบพื้นฐาน, 2545 : 7 )
เมตริก(มิลลิเมตร)
อังกฤษ (นิ้ว)
ขนาด
กว้าง ? ยาว
กว้าง ? ยาว
ขนาด
A0
841 ? 1 , 189
34 ? 44
E
A1
594 ? 841
22 ? 34
D
A2
420 ? 594
17 ? 22
C
A3
297 ? 420
11 ? 22
B
A4
210 ? 297
8.50 ? 11
A
A5
148 ? 210
5.83 ? 8.27
-
A6
105 ? 148
4.13 ? 5.83
-

ดินสอเขียนแบบ (Drafting Pencil) ดินสอเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญชิ้นหนึ่งในงานเขียนแบบ ผู้ปฏิบัติงานด้านเขียนแบบจำเป็นต้องศึกษาชนิดของดินสอและการใช้งานให้ถูกต้อง เพราะถ้าหากใช้ดินสอไม่ถูกแล้ว อาจทำให้แบบที่ได้ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานของการเขียนแบบ เกรดของดินสอมี 3 เกรด ดังนี้
ดินสอที่มีไส้แข็ง (HARD PENCILS) มีตั้งแต่เกรด 9H - 4H ใช้สำหรับการร่างแบบ เส้นที่ใช้เขียนจะมีความเบาบาง เช่น การบอกขนาด

รูปแสดงดินสอไส้แข็ง ( อำนวย.เขียนแบบเทคนิค , 2544 : 1)

- ดินสอที่มีไส้ปานกลาง (MEDIUM PENCILS) มีตั้งแต่เกรด 3H – B ใช้สำหรับการเขียนแบบงานสำเร็จรูป เช่น ขอบของชิ้นงาน เส้นแสดงแนวตัด สัญลักษณ์แนวเชื่อม

รูปแสดงดินสอไส้ปานกลาง ( อำนวย.เขียนแบบเทคนิค , 2544 : 1)
ดินสอที่มีไส้อ่อน (SOFT PENCILS) มีตั้งแต่เกรด 2B – 7B ใช้งานศิลปะการวาดภาพแรเงา

รูปแสดงดินสอไส้อ่อน ( อำนวย.เขียนแบบเทคนิค , 2544 : 1)

ไม้ที ( T-square) เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญชิ้นหนึ่งในงานเขียนแบบ ช่วยในการเขียนเส้นตรง และใช้ร่วมกับบรรทัดสามเหลี่ยมในการลากเส้นเอียง

รูปแสดงลักษณะและส่วนต่าง ๆ ของไม้ที (ภาพจาก นริศ, 2545 : 14 )





บรรทัดสามเหลี่ยม หรือฉากสามเหลี่ยมบรรทัดสามเหลี่ยมโดยทั่วไปจะทำจากพลาสติกใส เพื่อให้สามารถมองเห็นส่วนอื่น ๆ ของแบบได้ดีบริเวณขอบบรรทัดจะมีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรและเป็นนิ้ว ที่นิยมใช้กันมากที่สุดมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบมุม 45 องศา และแบบมุม 30 - 60 องศา (นริศ, 2545 : 38 )
รูปแสดงบรรทัดสามเหลี่ยม (ภาพจาก อำนวย , 2544 : 1)

วงเวียน เป็นเครื่องมือเขียนแบบที่ใช้สำหรับเขียนวงกลม (Circle) หรือส่วนหนึ่งของวงกลม (Arcs) ไส้ดินสอของวงเวียนจะต้องอ่อนกว่าไส้ดินสอเขียนด้วยมือเนื่องจากการใช้วงเวียนเขียนวงกลม หรือส่วนโค้งนั้นไม่สามารถออกแรงกดขาวงเวียนได้เท่ากับการกระทำกับดินสอ (นริศ, 2545 : 38 )
รูปแสดงวงเวียนเขียนแบบ (อารมณ์.ภาพถ่ายดิจิตอล, 2550)
ดิไวเดอร์ (Divider) มีลักษณะเหมือนกับวงเวียน แต่มีขาเป็นเหล็กแหลมทั้งสองข้าง การใช้งานต้องวัดระยะความยาวมาจากบรรทัด ใช้สำหรับช่วยในการถ่ายขนาดที่มีขนาดเท่า ๆ กันจำนวนมาก (นริศ, 2545 : 38 )
รูปแสดงลักษณะของดิไวเดอร์ (ภาพจาก นริศ, 2545 : 14 )
อุปกรณ์ช่วยในการเขียนแบบ ในการเขียนแบบมีงานที่ต้องทำบ่อย ซึ่งทำให้ต้องเสียเวลามากในการเขียนแบบแต่ละครั้ง เช่นตัวอักษร ตัวเลข วงรีขนาดเล็ก และวงกลมขนาดเล็ก เป็นต้น อุปกรณ์ช่วยในงานเขียนเขียนแบบนี้จะช่วยให้ช่างเขียนแบบปฏิบัติงานสำเร็จได้รวดเร็วกว่าการเขียนด้วยมือ

แผ่นแบบวงกลม
รูปแสดงแผ่นแบบวงกลมและแผ่นวงรี (อารมณ์.ภาพถ่ายดิจิตอล, 2550)














เส้นในงานเขียนแบบ
                อาจารย์นริศ ศรีเมฆ (นริศ, 2545 : 38 ) ได้อธิบายเส้นที่ใช้ในงานเขียนแบบว่า เส้นที่ใช้ในงานเขียนแบบจะเป็นตัวกำหนดขนาดและรูปร่างของวัตถุ ซึ่งการเขียนรูปร่างของวัตถุนั้นต้องใช้เส้นชนิดต่างๆ หลายชนิดด้วยกัน เช่น เส้นขอบรูป เส้นกำหนดขนาด เส้นบอกขนาด และเส้นประ เป็นต้น ผู้ปฏิบัติงานด้านเขียนแบบต้องศึกษาชนิดของเส้นและการใช้งานเพื่อนำไปใช้ให้ถูกต้องในงานเขียนแบบ
ชนิดของเส้นและลักษณะการใช้งาน ( อำนวย .เขียนแบบเทคนิค , 2544 : บทที่ 4 หน้า 1)
ชนิดของเส้น
ความหนา
(มม.)
ลักษณะการใช้งาน
เส้นรอบรูป หรือเส้นเต็มใหญ่
0.5
(0.7)
- เส้นขอบรูปที่มองเห็น
- เส้นสุดของเกลียว
เส้นเต็มบาง
0.25
(0.35)
- เส้นบอกขนาด ( Dimension line)
- เส้นกำหนดขนาด ( Extension line)
- เส้นโคนเกลียว (Thread line)
- เส้นตัด (Section line)
- เส้นแสดงการตัดส่วน
เส้นชี้แสดงรายละเอียด (Part line)

เส้นประ
0.35
(0.5)
-เส้นขอบรูปที่ถูกบัง (Concealed edges)
เส้นยาวประมาณ 7 มม. ช่องว่าง 1 มม.
เส้นสั้นเกือบเป็นจุด
เส้นศูนย์กลางใหญ่
0.5
(0.7)
- เส้นแสดงแนวตัด (Cutting plane line)
- เส้นแสดงแนวขอบเขตส่วนที่จะถูก
กระทำด้วยกรรมวิธีทางความร้อน
หรือกรรมวิธีอื่น ๆ เช่น ชุบผิว
เส้นยาวประมาณ 10 มม. ช่องว่าง 1 มม.เส้นสั้นเกือบเป็นจุด
เส้นศูนย์กลางเล็ก
0.25
(0.35)
- เขียนเส้นศูนย์กลางวงกลม ทรงกระบอก ทรงกลม เส้นกึ่งกลางของชิ้นงานที่มีลักษณะสมมาตร
( Center line)
เส้นเขียนด้วยมือเปล่า
0.25
(0.35)
- เส้นแสดงรอยตัดย่อส่วน (Break line)
- เส้นแสดงรอยตัด ( Broken line)

1.1 ประโยชน์ของการเขียนแบบพอสรุปได้ดังนี้คือ
1.1.1 เป็นสื่อความหมายในความคิดของการออกแบบงานที่จะนำไปใช้ในการก่อสร้างจริงโดยการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการประกอบกับเทคโนโลยีในการก่อสร้างชนิดของวัสดุงบประมาณและระยะเวลาฯลฯแล้วจึงเขียนขึ้นมาเป็นภาพ
1.1.2 ผู้ออกแบบและผู้รับเหมาสามารถประเมินราคาค่าวัสดุค่าแรงงานในการก่อสร้างได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการสร้างจริงทำให้ทราบต้นทุนล่วงหน้าสามารถเสนอราคาให้ผู้ซื้อตัดสินใจได้รวดเร็วขึ้น
1.1.3 ผู้ออกแบบสามารถเสนอรูปแบบของงานให้ลูกค้าได้เห็นรูปร่างและรายละเอียดของงาน
โดยยังไม่ต้องมีการสร้างจริง
1.1.4 ผู้รับเหมาสามารถวางแผนการทำงานล่วงหน้าได้เช่นกำหนดขั้นตอนในการทำงานกำหนดเวลาทำงานและกำหนดเครื่องมือ-เครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้างได้จากรายละเอียดแบบ
1.2 ชนิดของงานเขียนแบบการเขียนแบบเป็นกระบวนการผลิตอย่างหนึ่งก่อนที่จะลงมือไปสู่การปฏิบัติการก่อสร้างจริงงานเขียนแบบแบ่งออกได้หลายชนิดดังนี้
1.2.1 งานเขียนแบบอาคาร (เขียนแบบก่อสร้างและเขียนแบบสถาปัตยกรรม)ลักษณะงานจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับอาคารสิ่งก่อสร้างโดยผ่านรูปแบบการนำเสนอด้วยสัญลักษณ์เช่นแบบผังบริเวณผังพื้นรูปด้านรูปตัดและแบบขยายต่างๆดังรูปที่ 1.1
ที่มา : ก่อร่างสร้างบ้าน. รวมแบบบ้าน. หน้า 151-152.
รูปที่ 1.1 แสดงงานเขียนแบบอาคาร

1.2.2 งานเขียนแบบตกแต่งภายในหรือสถาปัตยกรรมภายในลักษณะงานจะแสดงสัญลักษณ์แบบตกแต่งพื้นผนังฝ้าเพดานการเขียนแบบจะเขียนเป็นห้องๆไปด้วยรูปผังรูปด้านรูปตัดแบบขยายเฉพาะจุด (Detail) และบางครั้งผู้เขียนแบบก็จะนำเสนอรูปทัศนียภาพร่วมด้วยดังรูปที่ 1.2
แปลน                                                                                     รูปด้าน

ที่มา:ไตรวัฒน์วิรยศิริและสุริยนศิริธรรมปิติ.การออกแบบและเขียนแบบก่อสร้างอาคารเบื้องต้นหน้า 100
รูปที่ 1.2 แสดงงานเขียนแบบตกแต่งภายใน
1.2.3 งานเขียนแบบไฟฟ้าและวงจรลักษณะงานจะแสดงสัญลักษณ์ผังและแบบขยายไฟฟ้ากำลังไฟฟ้าแสงสว่างรวมไปถึงระบบสัญญาณเตือนภัยและระบบสื่อสารดังรูปที่ 1.3
ที่มา : นพดลเวชวิฐานและชานนท์ชมสุนทร.เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น. หน้า 3
รูปที่ 1.3 แสดงงานเขียนแบบไฟฟ้าและวงจร

1.2.4 งานเขียนแบบเครื่องกลลักษณะงานจะแสดงสัญลักษณ์แบบการกลึงการเจาะการขึ้นรูปชิ้นส่วนเครื่องจักรกลต่างๆโดยไม่มีการกำหนดมาตราส่วนดังรูปที่ 1.4

ที่มา : นพดลเวชวิฐานและชานนท์ชมสุนทร.เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น.หน้า 2
รูปที่ 1.4 แสดงงานเขียนแบบเครื่องกล

1.2.5 งานเขียนแบบการจัดสวนหรือภูมิสถาปัตยกรรมลักษณะงานจะแสดงสัญลักษณ์แบบการจัดพื้นที่วางตำแหน่งต้นไม้อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ตกแต่งสวนเช่นแผ่นทางเดินน้ำตกบ่อน้ำตุ๊กตาก้อนหินทรายกรวดม้านั่งดังรูปที่ 1.5


1. หมากแดง 8. เฟิร์นใบมะขาม 15. ตั่งไม้                                         2. กล้วยบัว 9. บัว 16. อิฐมอญ
3. โมก 10. แผ่นไม้ 17. บ้านนก                                                          4. เข็มสามสี 11. โอ่งดินเผา 18. ตอไม้
5. จั๋ง 12. หินทราย 19. กรวด                                                              6. เข็มชมพู 13. ซุ้มโอ่ง 20. หมอนสามเหลี่ยม
7. หมากผู้หมากเมีย 14. อ่างบัว 21. พุดแคระ
ที่มา : www.siamsouth.com
รูปที่ 1.5 แสดงงานเขียนแบบภูมิสถาปัตยกรรม




1.2.6 งานเขียนแบบแผนที่ลักษณะงานจะแสดงสัญลักษณ์ผังที่ตั้งในภาพกว้างๆเช่นลักษณะภูมิประเทศที่ตั้ง
ของที่อยู่อาศัยสถานที่ราชการวัดถนนสาธารณะประโยชน์ต่างๆดังรูปที่ 1.6

ที่มา : www.portal.rotfaithai.com
รูปที่ 1.6 แสดงงานเขียนแบบแผนที่

1.2.7 งานเขียนแบบครุภัณฑ์หรือเครื่องเรือนลักษณะงานจะแสดงสัญลักษณ์แบบขนาดความกว้างความยาวความสูงรวมถึงวัสดุที่ใช้เทคนิคการประกอบชิ้นส่วนของครุภัณฑ์นั้นๆส่วนรูปแบบในการนำเสนอนั้นจะเป็นแบบ
2 มิติ 3 มิติหรือทั้งสองรูปแบบก็ได้ไม่จำกัดดังรูปที่ 1.7

ที่มา : www.admerit.com
รูปที่ 1.7 แสดงงานเขียนแบบเครื่องเรือน

1.2.8 งานเขียนแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากแรงและสมองของมนุษย์เราเพื่อตอบสนองความจำเป็นความต้องการหรือความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
หมายถึงการวิเคราะห์การสร้างสรรค์และการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เพื่อการผลิตในปริมาณมากๆโดยให้มีรูปแบบที่ถูกต้องแน่นอนก่อนที่จะมีการลงทุนเป็นจำนวนมากเพื่อจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรในการผลิตและผลิตสามารถได้ในราคาพอสมควรดังรูปที่ 1.8

ที่มา : www.drawing99.blogspot.com
รูปที่ 1.8 แสดงงานเขียนแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

1.2.9 งานเขียนแบบยานพาหนะลักษณะงานเขียนแบบยานพาหนะจะแสดงสัญลักษณ์แบบขนาดความกว้างความยาวความสูงของรถยนต์แบบและรุ่นต่างๆรวมถึงการเขียนแบบชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ดังรูปที่ 1.9

ที่มา : http://3.bp.blogspot.com
รูปที่ 1.9 แสดงงานเขียนแบบยานพาหนะ

1.3 การเตรียมความพร้อมในการเขียนแบบประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆด้วยกันคือด้านสถานที่และร่างกายซึ่งมีรายละเอียดดังนี้2
1.3.1 สภาพห้องควรสะอาดโปร่งได้รับลมและมีอากาศถ่ายเทสะดวกไม่ทึบหรือมีกลิ่นอับอันเป็นการรบกวนการทำงาน
1.3.2 แสงสว่างต้องเพียงพอโดยให้แสงสว่างส่องเข้ามาทางด้านซ้ายมือไปทางด้านขวามือของผู้ปฏิบัติงานเมื่อผู้เขียนถนัดมือขวาและควรมีโคมไฟชนิดที่มีคุณภาพขนาด 60-100 วัตต์ตั้งอยู่ที่มุมบนด้านซ้ายมืออยู่สูงจากโต๊ะเขียนแบบไม่เกิน 1.00 เมตร
1.3.3 โต๊ะเขียนแบบตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆต้องจัดวางให้สัมพันธ์กันเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกต่อการใช้
1.3.4 เก้าอี้เขียนแบบโดยทั่วไปใช้เก้าอี้สูงกว่าโต๊ะทำงาน 10 เซนติเมตรเพราะโต๊ะเขียนแบบจะสูงกว่าโต๊ะทำงาน 10-15 เซนติเมตรเก้าอี้ควรปรับระดับและเคลื่อนที่ได้มีเบาะรองนั่งนุ่มๆ
1.3.5 การวางเท้ากันเมื่อยเก้าอี้เขียนแบบควรมีส่วนที่รองรับเท้าเพราะเท้าจะลอยไม่ติดพื้นดังนั้นถ้านั่งนานๆจะเมื่อยจึงควรหาที่รองรับเท้าไว้
1.3.6 การวางตัวตรงเนื่องจากต้องนั่งเขียนแบบเป็นเวลานานหลายชั่วโมงจึงต้องนั่งให้พอดีตั้งตัวให้ตรงเท้าข้อศอกกับโต๊ะได้สามารถใช้มือจับไม้ทีเลื่อนไปมาหรือเครื่องมืออื่นๆได้สะดวกวางเก้าอี้อยู่ส่วนกลางของความยาวโต๊ะเมื่อนั่งนานๆรู้สึกเมื่อยหลังเมื่อยตาหรือคิดงานที่จะเขียนไม่ออกควรลุกเดินเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อให้หายเมื่อย
1.3.7 การทำใจให้สบายการเขียนแบบต้องการสมาธิในการเขียนลักษณะงานมีเส้นหนักเบาตัดกันต่อกันควรพิจารณาอย่างรอบคอบหากทำใจให้สงบสติอยู่ที่งานความผิดพลาดก็จะเกิดน้อยการเขียนก็ราบรื่นถ้าต้องแก้ไขเส้นที่เขียนมากงานจะไม่สวยและไม่สะอาด
1.3.8 การรับประทานอาหารก่อนลงมือเขียนแบบควรรับประทานอาหารให้อิ่มพอดีไม่ควรปล่อยให้หิวเพราะจะขาดสมาธิและความสามารถปฏิบัติงานจะลดลง
1.4 ลักษณะงานเขียนแบบที่ดีงานเขียนแบบทุกชนิดเขียนออกมาในรูปแบบของสัญลักษณ์ที่เป็นสื่อภาษาสากลที่ใช้แบบเดียวกันและเหมือนกันทั่วโลกลักษณะงานเขียนแบบที่ดีมีคุณภาพและได้มาตรฐานเป็นยอมรับนั้นควรประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้3
1.4.1 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบถูกต้องเช่นเส้นตัวหนังสือตัวเลขตัวย่อการบอกระยะมิติเส้นลูกศรหน่วยวัดระยะที่ใช้เครื่องหมายแสดงทิศเหนือวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างพื้น
1.4.2 ผนังรูปด้านรูปตัดแบบขยายรูป 2 มิติรูป 3 มิติมาตราส่วนการอ้างอิงสารบัญแบบรายการประกอบแบบการเขียนกรอบชื่อแบบและรูปแบบต้องเป็นระบบเดียวกันทั้งโครงการ
1.4.3 ขนาดของงานเขียนแบบต้องมีความเหมาะสมกับขนาดกระดาษเขียนแบบมาตรฐานรวมทั้งการเรียงลำดับแผ่นงานเขียนแบบและการเข้ารูปเล่ม
1.4.4 กำหนดมาตราส่วน (Scale) ที่ใช้เขียนแบบไม่เล็กกว่าที่กฎหมายควบคุมอาคารกำหนดได้แก่ระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 2525
1.4.5 เขียนแบบสมบูรณ์ถูกต้องครบถ้วนทั้งรูปแบบและรายการประกอบแบบมีความสะอาดประณีตข้อความและรูปแบบต้องมีความชัดเจนไม่ขัดแย้งกัน
1.4.6 รายละเอียดแบบขยายทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมมีความละเอียดครบถ้วนสมบูรณ์พึงระลึกอยู่เสมอว่างานเขียนแบบยิ่งมีความละเอียดมากเท่าใดปัญหาที่จะเกิดขึ้นในขณะดำเนินการก่อสร้างก็จะลดน้อยลงเท่านั้น
1.4.7 แบบทุกแผ่นต้องมีรายชื่อผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องเช่นสถาปนิกวิศวกรผู้เขียนแบบเขียนด้วยตัวหนังสือบรรจงพร้อมบอกหมายเลขทะเบียนใบอนุญาตกำกับและลงนามรับรองแบบ(เซ็นชื่อ) ไว้เป็นหลักฐานในกรอบชื่อแบบให้ครบทุกแผ่น
1.5 คุณลักษณะของช่างเขียนแบบที่ดีคุณภาพของงานเขียนแบบที่ดีและได้มาตรฐานส่วนหนึ่งมาจากฝีมือของช่างเขียนแบบช่างเขียนแบบที่ดีควรมีคุณลักษณะดังนี้
1.5.1 สนใจใฝ่รู้ในงานเขียนแบบพัฒนาและปรับปรุงการเขียนแบบของตนเองอยู่ตลอดเวลา
1.5.2 ศึกษาติดตามข้อมูลของวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างเทคนิคก่อสร้างวิทยาการสมัยใหม่เสมอ
1.5.3 เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์เขียนแบบให้ครบพร้อมใช้งานมีการจัดเก็บและบำรุงรักษาที่ดี
1.5.4 มีความสุขุมรอบคอบรักความสะอาดมีสมาธิดีละเอียดถี่ถ้วนมีความอดทนสูง




1.6 การฝึกมือเพื่อการสเกตซ์
การฝึกมือเพื่อการสเกตซ์นับเป็นความจำเป็นอย่างมากที่ช่างเขียนแบบทุกคนควรจะต้องเริ่มฝึกการเขียนเส้นโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือเพราะการสเกตซ์แบบเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลสองฝ่ายเข้าใจวัตถุประสงค์ได้ตรงกันการฝึกเขียนอาจใช้ดินสอที่เกรดค่อนข้างอ่อนเหลาไส้ให้แหลมหรือจะใช้ปากกาลูกลื่นก็ได้ซึ่งขั้นตอนการฝึกมือเพื่อการสเกตซ์พอสรุปได้ดังนี้4
รูปที่ 1.10 แสดงการเขียนเส้นตรงทางนอน
วิธีการเขียนเส้นตรงทางนอนดังรูปที่ 1.10 มีขั้นตอนดังนี้
1) เริ่มต้นเขียนเส้นจากด้านซ้ายของกระดาษไปเกือบสุดด้านขวาโดยที่ไม่ต้องยกดินสอหรือปากกาลากให้มีน้ำหนักเท่าๆกัน
2) เขียนเส้นที่ 2 และ 3 ไปเรื่อยๆเรียงให้ขนานกันตลอดทุกเส้นมีระยะห่างกันประมาณ1-2 มิลลิเมตรเขียนให้เต็มกรอบ
3) ถ้าเส้นที่เขียนยังคดอยู่มากหรือไม่ค่อยจะขนานกันก็ให้ฝึกเพิ่มขึ้นอีกไม่ต้องเขียนเร็ว

รูปที่ 1.11 แสดงการเขียนเส้นตรงขนานกันลงมา
วิธีการเขียนเส้นตรงขนานกันลงมาดังรูปที่ 1.11 มีขั้นตอนดังนี้
1) ลากเส้นจากข้างบนลงมาลากให้ยาวสุดกระดาษหรือกรอบที่กำหนดเส้นจะคดบ้างไม่เป็นไร
2) พยายามยึดขอบกระดาษหรือเส้นกรอบที่กำหนดเอาไว้โดยให้เส้นแรกขนานกับขอบกระดาษให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
3) เมื่อเขียนเส้นที่ 1 เสร็จแล้วเส้นที่ 2 และ 3 ก็เขียนเรียงขนานต่อๆกันมาจนเต็มพื้นที่

รูปที่ 1.12 แสดงการเขียนเส้นตรงให้เฉียงต่อขนานกัน
วิธีการเขียนเส้นตรงให้เฉียงต่อขนานกันดังรูปที่ 1.12 มีขั้นตอนดังนี้
1) เริ่มต้นเขียนเส้นจากด้านซ้ายของกระดาษไปเกือบสุดด้านขวาโดยไม่ต้องยกดินสอหรือปากกาโดยเอียงทำมุมกับแนวระนาบประมาณ 45 องศาโดยประมาณลากให้มีน้ำหนักเท่าๆกัน
2) เขียนเส้นที่ 2 และ 3 ไปเรื่อยๆเอียงทำมุมขนานกันตลอดทุกเส้นมีระยะห่างประมาณ1-2 มิลลิเมตร
3) ถ้าเส้นที่เขียนยังคดอยู่มากหรือไม่ค่อยจะขนานกันก็ให้ฝึกเพิ่มขึ้นอีกไม่ต้องเขียนเร็ว
รูปที่ 1.13 แสดงการเขียนเส้นลูกคลื่น
วิธีการเขียนเส้นลูกคลื่นดังรูปที่ 1.13 มีขั้นตอนดังนี้
1) เขียนเส้นโค้งขึ้นและลงต่อกันแบบอ่อนไหวเรียงกันไปไม่ควรยกดินสอหรือปากกาในช่วงการเขียนเส้น
2) พยายามให้เส้นต่อกันอย่างสม่ำเสมอตลอดความยาวน้ำหนักของเส้นควรมีความเข้มใกล้เคียงกันตลอดความยาว
รูปที่ 1.14 แสดงการเขียนเส้นม้วนต่อกันแบบม้วนเล็กและถี่ม้วนใหญ่และห่าง
การเขียนเส้นลักษณะนี้ใช้แทนสัญลักษณ์ต้นหญ้าในสนามหรือบ่อน้ำได้วิธีการเขียนเส้นม้วนต่อกันแบบม้วนเล็กและถี่ม้วนใหญ่และห่างดังรูปที่ 1.14 มีขั้นตอนดังนี้
1) เขียนเส้นม้วนติดต่อกันไปเรื่อยๆโดยไม่ต้องยกดินสอให้เส้นมีลักษณะม้วนดังภาพ
2) พยายามให้เส้นม้วนติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอตลอดความยาวเส้น
3) น้ำหนักของเส้นควรให้ใกล้เคียงกัน
รูปที่ 1.15 แสดงการเขียนเส้นซิกแซก
การเขียนเส้นซิกแซกสามารถใช้แทนสัญลักษณ์ต้นหญ้าในสนามได้ดังรูปที่ 1.15 วิธีการเขียนมีขั้นตอนดังนี้
1) เขียนเส้นซิกแซกเล็กและถี่ตามความยาวทางนอนและเรียงขนานกันไปเรื่อยๆ
2) พยายามให้จังหวะของเส้นสม่ำเสมอตลอดความยาว
3) น้ำหนักของเส้นควรให้ใกล้เคียงกัน
รูปที่ 1.16 แสดงการเขียนเส้นวงกลม
วิธีการเขียนเส้นวงกลมดังรูปที่ 1.16 มีขั้นตอนดังนี้
1) เขียนเส้นเป็นวงกลมเท่ากันบ้างเล็กบ้างใหญ่บ้างซ้อนกันหลายๆวง
2) พยายามเขียนให้วงกลมเกือบกลมโดยที่ไม่ต้องยกดินสอหรือปากกาขึ้น
3) น้ำหนักของเส้นควรให้ใกล้เคียงกัน
ทักษะที่ได้จากการฝึกสเกตซ์นี้จะนำไปใช้ในการเขียนแบบและสเกตซ์แบบได้เป็นอย่างดี
จัดว่าเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญของช่างเขียนแบบทุกคน
สรุปใบความรู้ที่ 1 ความรู้เบื้องต้นในการเขียนแบบ
การเตรียมความพร้อมในการทำงานนับเป็นวินัยพื้นฐานของช่างทุกสาขาอาชีพโดยเริ่มต้นตั้งแต่ด้านสถานที่ร่างกายควรได้ฝึกฝนทักษะการใช้ข้อมือในการเขียนเส้นแบบต่างๆให้เกิดความชำนาญเพื่อเกิดทักษะพื้นฐานในการเรียนปฏิบัติทุกครั้งก่อนที่จะจรดปลายดินสอหรือปากกาไปบนกระดาษต้องมีความเข้าใจในเรื่องที่จะเขียนพอสมควรเพราะความเข้าใจที่ลึกซึ้งจะนำไปสู่
พัฒนาการขั้นต่อไป
ใบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่1
วิชาการงานอาชีพ (งานช่าง 2)รหัส(ง23103)ชื่อหน่วยเขียนแบบเบื้องต้นเวลา10 นาที
คำสั่งจงตอบคำถามต่อไปนี้
1. จงบอกประโยชน์ของการเขียนแบบ
2. จงบอกชนิดของงานเขียนแบบที่รู้จักมาคนละ 2 ชนิด
3. การเตรียมความพร้อมในการเขียนแบบประกอบไปด้วยกี่ส่วนอะไรบ้าง
4. ลักษณะงานเขียนแบบที่มีคุณภาพควรประกอบด้วยอะไรบ้างบอกมาอย่างน้อย 4 ข้อ
5. จงบอกคุณลักษณะของช่างเขียนแบบที่ดีมาอย่างน้อย 2 ข้อ























ใบงานที่ 1
หน่วยที่1 สอนครั้งที่1
วิชาเขียนแบบเบื้องต้นรหัส2100-1301 ชื่อหน่วยความรู้เบื้องต้นในการเขียนแบบ
ชื่องานการเขียนเส้นโดยการสเกตซ์มือเวลา4 ชั่วโมง
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
ด้านทักษะ             เขียนเส้นด้วยมือโดยไม่ใช้เครื่องมือเขียนแบบได้
ด้านเจตคติ             1. ความมีมนุษยสัมพันธ์
2. ความมีวินัย
3. ความรับผิดชอบ
4. ความซื่อสัตย์สุจริต
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. โต๊ะเขียนแบบ
2. ดินสอพร้อมไส้
3. ยางลบ
4. กระดาษกาว
5. เครื่องเหลาไส้ดินสอ 2 มิลลิเมตร
6. แปรงปัดฝุ่น
วัสดุ
กระดาษเขียนแบบ 80 ปอนด์ขนาด A3 จำนวน 1 แผ่น
มอบหมายงาน
ให้ผู้เรียนปฏิบัติการเขียนเส้นด้วยดินสอโดยไม่ใช้เครื่องมือเขียนแบบช่วยลงบนกระดาษขนาด A3 ดังรายละเอียดในภาพประกอบโดยไม่กำหนดการใช้มาตราส่วนโดยให้จัดหน้ากระดาษตามความเหมาะสมเป็นรายบุคคล

ภาพประกอบ
รูปที่ 1.17 แสดงการเขียนเส้นโดยการสเกตซ์มือ
ลำดับขั้นการปฏิบัติงาน
1. ผู้เรียนทำความสะอาดโต๊ะเขียนแบบติดกระดาษเขียนแบบ A3 บนโต๊ะเขียนแบบ
2. เขียนกรอบกระดาษกรอบบอกชื่อตามรูปแบบโดยไม่ใช้เครื่องมือเขียนรายละเอียดในกรอบบอกชื่อเขียนให้ครบทุกช่องด้วยเส้นหนา
3. จัดเตรียมดินสอให้พร้อมใช้งานแล้วจึงลงมือปฏิบัติเขียนแบบโดยไม่ใช้เครื่องมือเรียงตามลำดับดังนี้
3.1 จัดวางรูปหน้ากระดาษให้เหมาะสมเขียนเส้นร่างศูนย์กลางกระดาษเขียนแบบทางตั้งและทางนอนโดยไม่ใช้เครื่องมือ
ดังรูปที่ 1.18
รูปที่ 1.18 แสดงการจัดวางรูปหน้ากระดาษ
3.2 ศึกษารายละเอียดงานและจำนวนงานจากภาพประกอบที่จะเขียนโดยภาพรวมแล้วจึงกำหนดการวางตำแหน่งรูปแบบลงบนกระดาษเขียนแบบจัดให้สมดุลทั้ง 4 ด้านเขียนเส้นร่างแนวระดับของรูป 8 รูปให้เสมอแนวระดับเดียวกันทั้ง 2 แถวดังรูปที่ 1.19
รูปที่ 1.19 แสดงการเขียนเส้นร่างแนวนอน
3.3 เขียนเส้นร่างในแนวดิ่งเพื่อกำหนดตำแหน่งรูปให้ตรงกันในแนวดิ่งทั้ง 4 แถวโดยประมาณด้วยสายตายึดขอบกระดาษทั้ง 4 ด้านเป็นเกณฑ์ให้คู่ขนานกันตลอดแนวจัดให้ครบทั้ง 8 รูปตามลำดับดังรูปที่ 1.20
รูปที่ 1.20 แสดงการวางตำแหน่งรูปทั้ง 8 รูป
3.4 เขียนรายละเอียดรูปให้ครบทั้ง 8 รูปด้วยความตั้งใจประณีตให้เริ่มจากซ้ายมือไปขวามือจากแถวบนลงแถวล่างตามลำดับด้วยเส้นหนาดังรูปที่ 1.21
รูปที่ 1.21 แสดงการเขียนรูปทั้ง 8 รูป
3.5 เขียนชื่อกำกับใต้รูปให้ครบทั้ง 8 รูปอยู่แนวระดับเดียวกันทั้งแนวตั้งและแนวนอนด้วยเส้นหนาดังรูปที่ 1.22


รูปที่ 1.22 แสดงการเขียนรายละเอียดขั้นสุดท้าย
3.6 ตรวจสอบความถูกต้องขั้นตอนสุดท้ายโดยละเอียดทุกรูปลบเส้นไม่ต้องการออกแกะกระดาษกาวออกจากมุมกระดาษเขียนแบบทั้ง 4 ทำความสะอาดโต๊ะเขียนแบบบริเวณรอบโต๊ะจัดเก้าอี้เข้าที่ส่งงานผู้สอนภายในเวลาที่กำหนด
ข้อควรระวัง
1. ขณะปฏิบัติงานห้ามนำอาหารเครื่องดื่มมาในห้องเขียนแบบเพราะอาจจะทำให้งานเกิดความเสียหาย
2. การใช้ดินสอไม่ควรลงน้ำหนักมากเกินไปเพราะไส้ดินสออาจหักและกระเด็นเข้าตาได้
ข้อเสนอแนะ
1. ขณะปฏิบัติงานควรมีสมาธิ
2. ขณะปฏิบัติงานควรนั่งตัวตรงไม่หมุนกระดาษ
3. ขณะเขียนเส้นควรเหลาไส้ดินสอบ่อยๆเพื่อความคมชัดของเส้น
4. หลังปฏิบัติงานทุกครั้งต้องทำความสะอาดโต๊ะเขียนแบบบริเวณรอบโต๊ะจัดเก้าอี้เข้าที่
การประเมินผล
1. ประเมินผลจากผลงาน
1.1 การจัดวางหน้ากระดาษมีความเหมาะสม
1.2 ทักษะการใช้เส้น
1.3 ความถูกต้องและเรียบร้อย
1.4 ความสมบูรณ์ของงานและเสร็จภายในเวลาที่กำหนด
1.5 ความสะอาด





แบบทดสอบก่อนเรียนวิชาเขียนแบบเบื้องต้น (23103) หน่วยที่ 1
เรื่องความรู้เบื้องต้นในการเขียนแบบ
คะแนนเต็ม 10 คะแนนเวลา 10 นาที
คำชี้แจงให้ผู้เรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียวโดย􀂯ทับหัวข้อคำตอบนั้น
ลงในกระดาษคำตอบ
1. ข้อเลือกใดเป็นประโยชน์ของการเขียนแบบ
. เป็นการถ่ายทอดความสามารถรูปแบบหนึ่ง
. นำไปประกอบอาชีพได้
. เป็นการสื่อความหมายเพื่อนำไปสร้างให้เป็นจริงได้
. นำไปตัดหุ่นจำลอง (Model)
2. ข้อความในข้อเลือกใดที่สัมพันธ์กับภาพ
. งานเขียนแบบตกแต่งภายใน
. งานเขียนแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
. งานเขียนแบบสถาปัตยกรรม
. งานเขียนแบบครุภัณฑ์หรือเครื่องเรือน
3. จากภาพเป็นงานเขียนแบบในข้อเลือกใด
. งานเขียนแบบตกแต่งภายใน
. งานเขียนแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
. งานเขียนแบบสถาปัตยกรรม
. งานเขียนแบบครุภัณฑ์หรือเครื่องเรือน
4. ขนาดหลอดไฟฟ้าในข้อเลือกใดที่เหมาะกับการใช้งานเขียนแบบมากที่สุด
. ขนาด 10 - 20 วัตต์
. ขนาด 15 - 30 วัตต์
. ขนาด 35 - 40 วัตต์
. ขนาด 60-100 วัตต์
5. ข้อเลือกใดเป็นคุณลักษณะงานเขียนแบบที่ดีมีคุณภาพได้มาตรฐาน
. สามารถวัดขนาดได้
. เขียนรายละเอียดแบบขยายทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมได้ถูกต้องสมบูรณ์
. ถูกต้องตามหลักฮวงจุ้ย
. มีรายชื่อผู้รับผิดชอบ
6. ข้อเลือกใดเป็นคุณลักษณะของช่างเขียนแบบที่ดี
. ศึกษาข้อมูลของวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและเทคนิคก่อสร้างอยู่ตลอดเวลา
. แต่งกายสุภาพดูภูมิฐานและทันสมัย
. มีความรู้จบสายอาชีพ
. มีประสบการณ์การทำงานมาพอสมควร
7. การฝึกสเกตช์มือในข้อเลือกใดสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
. สำหรับเป็นทักษะพื้นฐานในการเขียนเส้นและใช้เพื่อการสื่อสารงานแบบ
. เพื่อหารายได้เสริมเช่นวาดรูปขาย
. เป็นจุดเด่นเสริมความเชื่อมั่นในอาชีพ
. เพื่อการนำเสนองานที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง
จากภาพสำหรับข้อคำถามข้อที่ 8 – 10
หมายเลข 1 หมายเลข 2 หมายเลข 3
           

8. ข้อเลือกใดเป็นขั้นตอนการเขียนรูปหมายเลข 3
. เขียนเส้นจากด้านซ้ายไปเกือบสุดด้านขวาโดยไม่ต้องยกดินสอเขียนให้มีน้ำหนักเท่าๆกัน
ทุกเส้น
. เขียนเส้นจากข้างบนลงมาลากให้ยาวสุดกรอบที่กำหนดเส้นจะคดบ้างไม่เป็นไร
. เขียนเส้นโค้งขึ้นและลงต่อกันแบบอ่อนไหวเรียงกันไปเรื่อยๆไม่ควรยกดินสอในช่วง
การลากเส้น
. เขียนเส้นตรงให้เฉียงต่อขนานกันปรับองศาของเส้นให้เอียงทำมุมกับแนวระนาบ
9. ข้อเลือกใดเป็นขั้นตอนการเขียนรูปหมายเลข 1
. เขียนเส้นจากด้านซ้ายไปเกือบสุดด้านขวาโดยไม่ต้องยกดินสอเขียนให้มีน้ำหนักเท่าๆกัน
ทุกเส้น
. เขียนเส้นจากข้างบนลงมาลากให้ยาวสุดกรอบที่กำหนดเส้นจะคดบ้างไม่เป็นไร
. เขียนเส้นโค้งขึ้นและลงต่อกันแบบอ่อนไหวเรียงกันไปไม่ควรยกดินสอในช่วงการลากเส้น
. เขียนเส้นตรงให้เฉียงต่อขนานกันปรับองศาของเส้นให้เอียงทำมุมกับแนวระนาบ
10. ข้อเลือกใดคือขั้นตอนการเขียนรูปหมายเลข 2
. เขียนเส้นจากด้านซ้ายไปเกือบสุดด้านขวาโดยไม่ต้องยกดินสอลากให้มีน้ำหนักเท่าๆกัน
. เขียนเส้นจากข้างบนลงมาลากให้ยาวสุดกรอบที่กำหนดเส้นจะคดบ้างไม่เป็นไร
. เขียนเส้นโค้งขึ้นและลงต่อกันแบบอ่อนไหวเรียงกันไปไม่ควรยกดินสอในช่วงการลากเส้น
. เขียนเส้นตรงให้เฉียงต่อขนานกันปรับองศาของเส้นให้เอียงทำมุมกับแนวระนาบ

แบบทดสอบหลังเรียนวิชาเขียนแบบเบื้องต้น (2100-1301) หน่วยที่ 1
เรื่องความรู้เบื้องต้นในการเขียนแบบ
คะแนนเต็ม 10 คะแนนเวลา 10 นาที
คำชี้แจงให้ผู้เรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียวโดย􀂯ทับหัวข้อคำตอบนั้น
ลงในกระดาษคำตอบ
1. ข้อเลือกใดเป็นประโยชน์ของการเขียนแบบ
. เป็นการถ่ายทอดความสามารถรูปแบบหนึ่ง
. เป็นการสื่อความหมายเพื่อนำไปสร้างให้เป็นจริงได้
. นำไปประกอบอาชีพได้
. นำไปตัดหุ่นจำลอง (Model)

2. ข้อความในข้อเลือกใดที่สัมพันธ์กับภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น