วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หน่วยที 1 เรื่องความรู้เบื้องต้น ม.2


ใบความรู้
ความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของงานช่าง

งานช่าง
ช่าง หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในงาน หรือในศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง งานช่างหมายถึง สิ่งที่เป็นผลเกิดจากการทำงานของช่างซึ่งแบ่งออกได้หลายสาขา เช่น ช่างไม้ ช่างไฟฟ้า ช่างโลหะ ช่างยนต์ ช่างประปา เป็นต้น
                ความสำคัญของงานช่าง เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้งานช่างในแต่ละสาขา และได้ทดลองปฏิบัติเพียงเล็กน้อยก็จะสามารถทำได้ด้วยตนเอง
                ประโยชน์ของงานช่าง
                 1.  สามารถใช้เครื่องมือ เครื่องใช้สอยได้อย่างถูกต้อง
                 2.  เข้าใจคุณสมบัติของวัสดุได้อย่างถูกต้อง
                 3.  เข้าใจคุณสมบัติของวัสดุ ซึ่งช่วยทำให้เกิดความประหยัด ทำให้อายุการทำงานของเครื่องมือ เครื่องใช้ยาวนาน
ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานช่าง
การทำงานทุกชนิด  ผู้ทำงานจะต้องนึกถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก  โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งผู้ที่ทำงานช่างความปลอดภัยถือว่าเป็นหัวใจของการปฏิบัติงานช่างทีเดียว  เพื่อเป็น
การป้องกัน และขจัดปัญหา  จากการเกิดอุบัติเหตุซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้จากการใช้เครื่องมือ
และเครื่องจักรต่างๆ และแม้ว่าเครื่องมือเครื่องจักรกลสมัยใหม่ ได้รับการออกแบบอย่างรัดกุม   เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นอยู่แล้ว  ผู้ใช้ก็ควรใช้อย่าระมัดระวัง  โดยการปฏิบัติตามระเบียบของห้องปฏิบัติการ  โรงฝึกงาน  กฎการใช้เครื่องมือ  เครื่องจักร  อุปกรณ์  ตลอดจนการใช้เครื่องมือ   อุปกรณ์ที่ถูกต้อง  ตรงกับหน้าที่และวิธีการใช้  สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ 
        1.  ระเบียบและกฎความปลอดภัยในโรงฝึกงาน
              1.1  ก่อนเข้าห้องปฏิบัติงานใดในโรงฝึกงานนอกเวลาจะต้องได้รับอนุญาตจากครูผู้สอนก่อนทุกครั้ง
1.2  นักเรียนต้องเข้าแถวให้เรียบร้อยเพื่อรับคำสั่งจากผู้สอนก่อนปฏิบัติงานทุกครั้ง
1.3 ขณะที่ปฏิบัติงานต้องแต่งกายรัดกุม  ขณะปฏิบัติงานไม่ควรสวมใส่เครื่องประดับ
อื่นที่เป็นโลหะรุ่งริ่งจะทำให้เกิดความเสียหายและทำให้เกิดอันตรายได้
1.4  ห้ามหยอกล้อหรือเล่นกันภายในโรงฝึกงานโดยเด็ดขาด 
1.5 นักเรียนจะต้องใช้เครื่องมือในการฝึกปฏิบัติงานด้วยความไม่ประมาท
1.6  การเบิกจ่ายเครื่องมือนักเรียนจะต้องเข้าแถวให้เป็นระเบียบ
1.7 เมื่อรู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนเพลีย จงหยุดปฏิบัติงาน  อย่าฝ่าฝืนทำงานต่อเพราะอาจ
จะได้รับอุบัติเหตุได้ง่าย
1.8 หลังเลิกปฏิบัติงานแล้วทุกครั้ง  นักเรียนจะต้องรับผิดชอบทำความสะอาดโรงฝึกงาน
ให้เรียบร้อย
1.9  ให้ปฏิบัติตามกฎและระเบียบโรงฝึกงานอย่างเคร่งครัด
2. ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ    
2.1  ก่อนใช้เครื่องมือทุกชนิดต้องตรวจดูว่า  เครื่องมืออยู่ในสภาพเรียบร้อย
พร้อมที่จะ ใช้งานได้         
2.2  เครื่องมือประเภทตัดทุกชนิดมีอันตราย  เวลาตัดควรระวังนิ้วมือทุกขณะ
2.3  ก่อนเปิดเครื่องสว่านให้หมุน ต้องแน่ใจว่าถอดประแจออกจาจำปาแล้ว
2.4  การเจาะชิ้นงานเล็กควรจับงานไว้ที่แท่นของดอกสว่าน  หรือจับด้วยปากกาประจำ        
แท่นสว่าน  เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
2.5  การใช้ค้อน  อย่าใช้ค้อนที่ด้ามไม่แน่น  หรือแตกชำรุด
2.6  การใช้สกัด  อย่าใช้สกัดที่มีปลายเยินเป็นรูปดอกเห็ด  เพราะรอยเยินนั้นอาจจะ
กระเด็นออกมา  ทำให้เกิดอันตรายได้
            2.7  เมื่อตัดโลหะออกแล้วควรใช้ตะไบลบรอยคมออกด้วย
ซุ่มซ่าน...

      3. ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน 
                ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
                ในการทำงานนั้นเป็นช่างจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก  เพราะถ้าประมาทเลินเล่อก็อาจทำให้เสียทั้งงาน  และทรัพย์สินโดยใช่เหตุ  หรือบางครั้งอาจเกิดอันตรายถึงพิการหรือเสียชีวิตได้  ความปลอดภัยในการทำงานย่อมเป็นสิ่งปรารถนาของทุก ๆ คน  การรู้จักวิธีการทำงาน รู้จักวิธีใช้เครื่องมือด้วยความไม่ประมาทคอยระวังอยู่เสมอ ๆ จะช่วยขจัดปัญหาอุบัติเหตุได้มาก  เครื่องมือทุกชนิดแม้จะออกแบบอย่างเหมาะสมแต่ก็อาจจะเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้  ด้วยเหตุนี้ผู้ใช้เครื่องมือควรจะระมัดระวังอยู่เสมอ
 โอ๊ยเจ็บ..
                สาเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายจากการทำงาน
                สาเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายในการทำงานอาจสรุปอย่างกว้าง ๆ ได้ 4 ประการ  คือ เกิดจากตัวบุคคลเอง  จากเครื่องมือ  อุปกรณ์  และวัสดุต่าง ๆ  เกิดจากสภาพแวดล้อม  และเกิดจาก
การจัดระบบงาน  เช่น 
1. การแต่งกายไม่รัดกุม  ใส่เครื่องประดับ  ผมยาว   ปล่อยชายเสื้อ  ไม่สวมรองเท้า
2. สุขภาพไม่ดี เหน็ดเหนื่อยเกินไป ขาดความรู้และประสบการณ์  ขาดความรอบคอบประมาทไม่ระมัดระวังไม่วางแผนในการทำแผนงานที่กำหนดไว้  ไม่รู้จักประมาณ
3.  เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ชำรุด  หรือเริ่มชำรุด  ไม่ควร ใช้เครื่องมือผิดประเภท 
ใช้ผิดวิธี  หยิบมาใช้งานโดยไม่ได้ตรวจสอบก่อน  ใช้แล้วไม่เก็บเข้าที่  ไม่เก็บวัสดุไว้ในที่ปลอดภัย
1.          สถานที่ปฏิบัติงานไม่เหมาะสม ไม่สะอาด ไม่เป็นระเบียบ  เกะกะ  ทำให้การทำงานไม่
สะดวกบริเวณงานคับแคบ  แสงสว่างไม่เพียงพอ
2.          การวางแผนการทำงานไม่ดี  ไม่รอบคอบ  ทำงานผิดขั้นตอน
 
ปลอดภัยไว้ก่อน
แนวทางในการปฏิบัติงานเพื่อรักษาความปลอดภัย
1. ก่อนที่จะใช้เครื่องมือทุกชนิดควรตรวจสภาพก่อนว่าอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่าง
ปลอดภัย หรือไม่
2. ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตราย  เช่น  แว่นตา  ถุงมือเสมอ  เพื่อป้องกันอันตราย
ที่เกิดจากการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือขัด  หรืองานที่ต้องจับต้องสารเคมี
3. การใช้เครื่องมือจับยึดชิ้นงาน  ขณะเจาะหรือตัด
4. การทำงานที่เกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้า  ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษก่อนการตรวจซ่อม 
ควรตัดกระแสไฟฟ้าออกเสียก่อนทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย แต่ถ้าไม่สามารถตัดกระแสไฟฟ้า
ออกได้ ควรใช้อุปกรณ์ช่วยป้องกันอื่น ๆ เพิ่มเติมเช่น  ใส่ถุงมือ  สวมรองเท้ายาง  และยืนบนพื้นที่แห้ง  โดยทำงานด้วยความสุขุมรอบคอบจริง
5.  ในการใช้เครื่องมือที่สำคัญ  เช่นเลื่อย  สิ่ว ตะไบ  ควรระมัดระวังผู้ปฏิบัติงานข้างเคียง
6.  การทำงานในที่อับชื้น   ควรใช้พัดลมเป่าช่วยให้การถ่ายเทอากาศดีขึ้น
7.  ก่อนที่จะใช้เครื่องมือเครื่องจักรใดๆ ควรศึกษาวิธีการใช้เครื่องมือก่อน
8.   ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องจักรขณะที่กำลังเดินเครื่องอยู่
9.   ก่อนและหลังปฏิบัติงานตรวจสอบความเรียบร้อยของสถานที่ทำงานทุกครั้ง
10.  ควรเก็บเครื่องมือเครื่องใช้ไว้ในที่เหมาะสมและแยกเป็นประเภทไว้
                การป้องกันอุบัติเหตุต่าง ๆ
                เราสามารถป้องกันอุบัติเหตุได้  ฉะนั้นวิธีการที่จะช่วยลดอุบัติเหตุได้ดังนี้
1. ระมัดระวัง  ดูแลเครื่องมือเครื่องใช้อยู่เสมอ
2. ระมัดระวังตนเองอยู่ตลอดเวลาขณะปฏิบัติงาน
3. จัดสถานที่ทำงานให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยเหมาะสมที่จะทำงาน
4. การทำงานในที่สูงควรใช้อุปกรณ์ช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการพลัดตก  เช่น 
ใช้เข็มขัดป้องกันภัย
5.  ในกรณีที่จำเป็นต้องทำงานใกล้เชื้อเพลิง  ควรมีน้ำยาดับเพลิงวางไว้ใกล้ ๆ









หลักการเกี่ยวกับความปลอดภัย 
เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน  ควรจะยึดหลักที่เรียกว่า  5 ส. ได้แก่ สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัย โดยเขียนเป็นตารางได้ดังนี้
หลักการ
ผลจากการไม่ดำเนินการ
ผลจากการดำเนินการ
1. สะสาง การขจัดสิ่งของ
ที่ไม่ต้องการออก
1. เสียเวลาค้นหาสิ่งของ
2. ตรวจสอบยากว่ามีของที่ต้องการอยู่หรือไม่
3. สถานที่ปฏิบัติงานมีน้อย
4. สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการดูแล
1. หาสิ่งของที่ต้องการได้ง่าย
2.  มีพื้นที่ว่างฝึกปฏิบัติงาน
2. สะดวก จัดของที่ใช้ให้
เป็นระเบียบโดยคำนึงถึงความปลอดภัย
1. ดูแลรักษายาก
2. เป็นบ่อเกิดของอุบัติเหตุ
3. เสียเวลาค้นหา
1. รักษาคุณภาพของสิ่งต่าง ๆได้ง่าย
2. ลดการเกิดอุบัติเหตุ
3. ไม่เสียเวลาในการหยิบใช้
4. ตรวจสอบสิ่งของได้ง่ายขึ้น
3. สะอาด ทำความสะอาดสถานที่ปฏิบัติงานเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ
ให้เรียบร้อย

1. สถานที่ปฏิบัติงานรกรุงรัง2.  เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ชำรุดเสียหาย วางไม่เป็นระเบียบ
1. สถานที่ปฏิบัติงานสะอาดเหมาะสมกับการฝึกปฏิบัติงาน
2. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่ในสภาพที่สามารถนำมาใช้ได้ทันที
4. สุขลักษณะ จัดสถานที่ฝึกปฏิบัติงานให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อสุขภาพอนามัยของตนเองและผู้ร่วมงาน
1. เกิดมลภาวะต่าง ๆ เช่น
ฝุ่นละออง อับชื้น กลิ่น เสียงดัง
2. เสียสุขภาพจิต
3. ไม่กระตือรือร้น
1. สถานที่ปฏิบัติงานมีความ
ร่มรื่นปลอดโปร่งอากาศถ่ายเทดี
2. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี
5. สร้างนิสัย ปฏิบัติ 4 ส แรก  จนเกิดทักษะและติดนิสัย
ของตนเอง
หมายเหตุ
1. ฝึกทักษะจนติดเป็นนิสัยที่ดีในการปฏิบัติงาน เช่น รักษาความสะอาดมีระเบียบวินัยในการปฏิบัติงาน
2. คำนึงถึงความปลอดภัย  และกฎของโรงฝึกงาน
หลักและวิธีการปฐมพยาบาล
เจ็บมั๊ย

 
                การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่เกิดบาดแผล
1.     ถ้าผู้ป่วยที่เป็นลมหรือหมดสติต้องรีบแก้ไขให้ฟื้นสู่สภาพปกติและทำความสะอาด
บาดแผล
2.     เมื่อโลหิตหยุดไปแล้ว  ควรชำระล้างแผลให้สะอาดด้วยแอลกอฮอล์
3.     ถ้าเกิดแผลเล็กน้อย  เช่น  แผลรอยถลอก  รอยขีดขวนเมื่อทำความสะอาดบาดแผลฃ
แล้ว ควรใส่ยาแผลสดอีกครั้ง
4.    
ลองทำดู..

ถ้าเกิดบาลแผลฉกรรจ์  ควรปฐมพยาบาลไปพร้อม ๆ กับการนำส่งโรงพยาบาล
การปฐมพยาบาลเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา
1.     ควรลืมตาในน้ำสะอาด  และกระพริบตาช้า ๆ
2.     ควรดึงเปลือกตาทั้งบนและล่างให้ห่างออกจากกัน  เพื่อสำรวจหาสิ่งแปลกปลอม
ถ้าพบควรใช้ผ้าสะอาดเขี่ยออก
3.     ถ้ารู้สึกว่ายังมีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่  ควรใช้ผ้าแห้งปิดทับไว้แล้วรีบไปพบแพทย์
4.     ในกรณีที่มีสิ่งแปลกปลอมฝังลงในตา  ไม่ควรขยี้ตาหรือใช้ของแหลมเขี่ยออก
ควรหลับตาและใช้ผ้านิ่ม ๆ วางทับเปลือกตาไว้แล้วรีบไปพบแพทย์
5.     เมื่อผู้ป่วยถูกกรดหรือด่างกระเด็นเข้าตา  ต้องรีบใช้น้ำสะอาดล้างหน้าและตาโดยเร็ว
ก่อนจะไปพบแพทย์

























ใบความรู้
เรื่อง เครื่องมือช่างเบื้องต้น

เครื่องมือที่เราใช้กันในงานช่างในบ้านเบื้องต้นโดยทั่วไปมีมากมายหลายชนิด แต่จะกล่าวเฉพาะเครื่องมือที่จำเป็นและใช้ประจำ ซึ่งพอจะแบ่งเป็นเครื่องมือแต่ละชนิดดังนี้


เลื่อยมือ

            เป็นเครื่องมือที่ใช้กันโดยทั่วไปในงานช่างในบ้านเบื้องต้นคือ ใช้สำหรับตัดวัสดุชนิดต่าง ๆ หรือใช้สำหรับบากชิ้นงาน เราสามารถที่จะแบ่งชนิดของเลื่อยได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ เลื่อยที่ใช้ในงานช่างไม้ก่อสร้าง เช่น เลื่อยลันดา เลื่อยรอปากไม้ เลื่อยอก และที่ใช้ในงานช่างอุตสาหกรรม เช่น เลื่อยตัดเหล็ก
                การใช้เลื่อยและวิธีการเลื่อย
        
1. ก่อนเลื่อยทุกครั้งควรจะขีดทำเครื่องหมายที่วัสดุตามต้องการเสียก่อนทุกครั้ง
           2. ในกรณีที่เลื่อยวัสดุที่เป็นแผ่นบางต้องมีอุปกรณ์จับยึดชิ้นงานให้คงที่
           3. ถ้าต้องการตัดท่อโลหะกลมควรทำเครื่องหมายหรือขีดรอยไว้ให้รอบโดยใช้แถบวัดพันรอบแล้วใช้เหล็กขีดขีดตามแนวที่ต้องการ
           4. ในการตัดวัสดุที่เป็นโลหะควรใช้เลื่อยที่ใช้กับการตัดโลหะ และในทำนองเดียวกันวัสดุ
อื่น ๆ เช่น ไม้ พลาสติก ควรใช้เลื่อยชนิดที่ใช้กับงานไม้ เช่น เลื่อยลันดา เลื่อยฉลุ
           5. ในกรณีที่ต้องการตัดวัสดุที่มีความหนาควรใช้เลื่อยชนิดที่มีฟันห่าง ทั้งนี้เพื่อจะทำให้
เศษผงวัสดุจากการเลื่อยหลุดออกจากฟันเลื่อยได้ง่าย ไม่ติดอยู่ที่ฟัน
           6. เมื่อตัดวัสดุใกล้จะขาดควรชะลอระยะชักให้ช้าลง เพื่อป้องกันการฉีกขาดของวัสดุด้านล่าง
                การเก็บและบำรุงรักษา
           1. หลังจากใช้งานแล้วควรทำความสะอาดทุกครั้ง โดยเฉพาะส่วนคมตัดควรใช้น้ำมันทาไว้บาง ๆ เพื่อป้องกันการเกิดสนิม
           2. ไม่ควรวางเลื่อยไว้กับพื้นอาจเกิดอันตรายจากการเดินเหยียบหรือกระแทกกับส่วนคมของใบเลื่อยได้
           3. ในกรณีใช้เลื่อยตัดเหล็กที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม หลังจากใช้งานควรคลายสกรูปรับความตึงของใบเลื่อยออก เพื่อป้องกันมิให้เกิดการตึงผิวของใบเลื่อยมากไป จะทำให้อายุการใช้งานของใบเลื่อยน้อยลง
           4. เลื่อยเป็นเครื่องมือที่มีคมควรจะเก็บไว้ในที่ปลอดภัยและแยกออกจากเครื่องมือชนิด
อื่น ๆ

ค้อน


           ค้อน จัดเป็นเครื่องมือประเภทตอกตีโลหะ ใช้กับงานช่างทั่ว ๆ ไปมีส่วนประกอบ 2 ส่วนใหญ่ คือ ส่วนหัว และส่วนด้าม
                ประเภทของค้อน
           1. ค้อนหน้าแข็ง ได้แก่ ค้อนหงอน ค้อนเหลี่ยม ค้อนหัวกลม มักจะใช้กับงานตอก งานตีอัด งานตีขึ้นรูป
           2. ค้อนหน้าอ่อน ได้แก่ ค้อนพลาสติก ค้อนยาง มักจะใช้กับงานประกอบผลิตภัณฑ์ในขั้นสุดท้ายหรืองานตกแต่งผิวให้เข้ารูปทรง
                การใช้ค้อน
            ควรจับที่ส่วนปลายของด้ามจณะที่ตอกทั้งนี้เพื่อให้น้ำหนักในการตอกตกลงที่หัวค้อน
ได้มาก และยังผ่อนแรงในการตอกได้อีกด้วย
                การเก็บและการบำรุงรักษา
           พวกค้อนที่มีหัวทำด้วยโลหะ (เหล็ก) หลังจากใช้งานแล้ว ควรเช็ดให้สะอาด และทาด้วยน้ำมัน เก็บไว้ในที่เก็บเครื่องมือส่วนค้อนหัวยางและพลาสติก หลังจากใช้งานแล้วควรเช็ดให้สะอาด เก็บไว้ในที่เก็บเครื่องมือ อย่าให้ถูกแตดหรือความร้อน


สว่าน
สว่านเป็นเครื่องมือที่จัดอยู่ในประเภทเครื่องเจาะ ใช้ในงานช่างหลายประเภท เช่น งานช่างไฟฟ้า งานช่างไม้เฟอร์นิเจอร์
                ประเภทของสว่าน
           1. สว่านข้อเสือ (Brace Drill) ส่วนใหญ่จะใช้กับงานช่างไม้ เช่น งานเจาะ รูเดือย หัวจับดอกสว่านสามารถปรับขนาดได้ให้เหมาะสมกับดอกสว่านที่จะใช้
         2. สว่านเฟืองหรือสว่านจาน (Hand Drill) สว่านชนิดนี้มักใช้กับงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่สามารถที่จะใช้งานหนักได้ เช่น เจาะแป้นสวิตช์ไฟฟ้าหรืองานเจาะเพื่อยึดสกรู

           
3. สว่านมือหรือบิดหล่า (Gimlet Bits) ใช้กับงานเจาะนำร่องก่อนที่จะใช้สกรูขันยึด
เหมาะกับการปฏิบัติงานในสถานที่คับแคบ และเจาะวัสดุที่มีเนื้ออ่อน

การใช้สว่าน
1. ก่อนที่จะเจาะควรทำเครื่องหมายบริเวณที่จะเจาะเสียก่อน
2. ขณะเจาะต้องตั้งดอกสว่านให้ตั้งฉากกับชิ้นงานทุกครั้ง
3. ควรคลายดอกสว่านกลับให้เศษวัสดุออกบ้างทั้งนี้เพื่อลดแรงกดขณะปฏิบัติงาน
และยังป้องกันดอกสว่านหักได้อีกด้วย
                การเก็บและการบำรุงรักษา
           1. หลังจากใช้งานทุกครั้งควรทำความสะอาดและทาน้ำมันบาง ๆ ทุกส่วนของสว่านที่ต้องเคลื่อนไหวหรือขัดสีกัน
           2. ขณะเจาะต้องตั้งดอกสว่านให้ตั้งฉากกับชิ้นงานที่จะเจาะเสมอ
           3. ควรถอดดอกสว่านออกจากตัวสว่านทุกครั้งหลังจากใช้งานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
ขณะหยิบใช้งาน และเก็บไว้ในที่ปลอดภัย

ไขควง

                    

ชนิดของไขควงแบ่งตามชนิดของปากไขควงได้ดังนี้
1. ไขควงปากแบน (Standard Screw Driver) ใช้ขันสกรูที่มีลักษณะของร่องหัวสกรู
ตามแนวขวาง
                2. ไขควงสี่แฉก (Phillip Screw Driver) ใช้ขันสกรูที่มีลักษณะของร่องหัวสกรูเป็นรูปสี่แฉก
การใช้ไขควงทำงาน
1. การใช้ไขควงขันสกรูควรจับที่ด้ามของไขควง
2. ไม่ควรใช้คีมจับด้ามไขควงขันสกรู จะทำให้ด้ามไขควงชำรุดได้
3. ไม่ควรใช้ไขควงแทนสกัดหรือค้อน
4. ไม่ควรใช้ไขควงที่เปื้อนน้ำมันจะทำให้เกิดการพลาดพลั้งกระแทกมือได้
5. ควรเลือกใช้ไขควงที่มีปากลักษณะเดียวกับชนิดของหัวสกรู
เทคนิคในการคลายสกรูที่เป็นสนิม
ใช้น้ำมันหล่อลื่นหยอดและใช้ค้อนเคาะเบา ๆ ที่หัวสกรูทิ้งไว้สักครู่ จึงใช้ไขควงขันจะคลาย
ออกได้ง่าย
การเก็บและการบำรุงรักษา
                1. ควรเก็บไขควงไว้ตามร่องเก็บหรือแผงเครื่องมือ
                2. ควรแยกเก็บไว้จากเครื่องมือชนิดอื่น ๆ เนื่องจากไขควงมีปลายแหลม
3. ไขควงที่มีปลายบิ่นสามารถที่จะปรับแต่งใหม่ได้ด้วยเครื่องเจียระไน
คีม
                คีมเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับจับยึด ตัด ดัดงอ มักจะทำจากเหล็กเครื่องมือ (Tool Steel) ด้ามอาจหุ้มฉนวนหรือบางชนิดก็ไม่หุ้มฉนวน ถ้าเป็นคีมที่ใช้กับงานไฟฟ้าด้ามต้องหุ้มฉนวนเพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าดูด
                ชนิดของคีมและรูปแบบการใช้งาน
                1. คีมปากจระเข้ด้ามยาง (Electric Pliers) ใช้สำหรับงานตัด จับยึด ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กับงานช่างไฟฟ้า เช่น การตัดสาย การพันสายเข้าด้วยกัน
2. คีมตัด (Side Cutting Pliers) ใช้สำหรับงานตัดและงานปอกสายไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ที่ปากของคีมมีร่องสำหรับใช้ปอกสายชนิดสายอ่อนและสายขนาดเล็ก ๆ
3. คีมปากแหลม (Long Nosed Pliers) ใช้กับงานช่างทั่ว ๆ ไป และเหมาะกับการจับยึด
สิ่งของเล็ก ๆ หรืองานที่ต้องทำในพื้นที่จำกัด
การเก็บและการบำรุงรักษา
1. ไม่ควรใช้คีมขันสกรูหรือสลักเกลียวจะทำให้ปากของคีมเยินได้
2. คีมแต่ละชนิดต้องใช้ถูกประเภท เช่น คีมตัดก็ควรใช้กับงานตัด
3. หลังจากใช้งานต้องทำความสะอาดและทาน้ำมันตรงจุดหมุนของคีมเสมอ
4. ไม่ควรใช้คีมไปเคาะแทนค้อนจะทำให้ปากคีมเลื่อน ใช้งานได้ไม่ดี
5. คีมที่ใช้กับงานไฟฟ้าควรตรวจดูฉนวนหุ้มด้ามว่ามีสภาพเรียนร้อยหรือไม่






ตะไบ
ตะไบเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับงานโลหะ ตะไบทำด้วยเหล็กกล้าชนิดพิเศษ ใช้ในงานแต่งผิวให้เรียบหรืออาจใช้สำหรับตบแต่งชิ้นงานให้ได้ขนาดตามต้องการ ถ้าเป็นตะไบชนิดหยาบจะมีฟันสองทางสามารถที่จะใช้ตะไบผิวของโลหะได้เร็ว คือ ตัดผิวโลหะได้เร็วกว่าตะไบละเอียดดังนั้นงานแต่งผิวเรียบมักจะใช้ตะไบหยาบก่อน หลังจากนั้นจึงตะไบอีกครั้งด้วยตะไบละเอียด
                การใช้ตะไบในการทำงาน
1.             ตะไบทุกอันที่จะใช้ต้องมีด้ามจับเสมอเพื่อป้องกันอันตราย
2.             ในการตะไบต้องจับยึดชิ้นงานที่จะตะไบให้แน่นด้วยเครื่องมือจับยึด เช่น ปากกา
หรือใช้แคล้มยึด
3.             ควรเลือกตะไบให้ถูกต้องกับชนิดและขนาดของงาน
4.             ขณะตะควรออกแรงถูไปข้างหน้าแล้วยกกลับมาที่เดิม แล้วเริ่มถูไปข้างหน้าเช่นนี้
เรื่อยไป ไม่ควรถูกลับไปกลับมาจะทำให้คมตัดของตะไปเสีย
5.             เมื่อทำการตะไบจะมีเศษโลหะติดอยู่ที่ร่องของฟันตะไบ ควรใช้แปรงสำหรับงานตะไบ
ถูเศษโลหะออก เพื่อป้องกันเศษโลหะจะไปครูดโลหะที่เราตะไบทำให้ชิ้นงานเป็นรอย
6.             ไม่ควรใช้น้ำมันทาหล่อลื่นตะไบ เพราะจะทำให้ฟันตะไบไม่ตัดเศษโลหะ

ประแจ

ประแจเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับขันยึดหรือคลายสลักเกลียว ประแจที่ใช้ในงานช่างพื้นฐานทั่ว ๆ ไปแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ชนิดปรับความกว้างของปากประแจได้และชนิดที่ปากของประแจไม่สามารถปรับได้
ชนิดของประแจ
1. ประแจชนิดปรับความกว้างของปากได้ เช่น ประแจเลื่อน
2. ประแจชนิดปรับความกว้างของปากไม่ได้ เช่นประแจปากตาย ประแจแหวน
การใช้งานที่ถูกต้องและปลอดภัย
1. ในการขันสลักเกลียวด้วยประแจควรขันเข้าหาตัวทุกครั้ง
2. ควรใช้ประแจให้ถูกต้องกับลักษณะของงาน และควรใช้ประแจที่มีปากกว้างพอดีกับหัว
ของสลักเกลียว
                3. ไม่ควนใช้ประแจแทนค้อนหรือใช้งัดสิ่งของจะทำให้ประแจหักได้
4. หลังจากใช้งานควรทำความสะอาดทุกครั้ง
5. ไม่ควรใช้ท่อโลหะต่อสวมด้ามของประแจเพื่อใช้ขันยึดสกรู จะทำให้ประแจหักได้
6. ในการเก็บประแจควรแขวนไว้เป็นหมวดหมู่ไม่ควรเก็บรวมกับเครื่องมือประเภทอื่นๆ

เครื่องมือวัดระยะ
                เครื่องมือวัดระยะ หมายถึง สิ่งที่ใช้วัดระยะความยางและวัดระดับต่างๆ เช่น ตลับเมตร ฉากใช้กับงานช่างทุกชนิดโดยเฉพาะงานสร้างอาคารบ้านเรือน งานไม้เฟอร์นิเจอร์ และงานช่างอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการทำสิ่งของเครื่องใช้

ตลับเมตร

ตลับเมตร เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวัดระยะสายวัดภายในตลับเมตรทำด้วยโลหะที่มี
การสปริงตัวได้ดี วัดความยาวได้ 2 ระบบ คือ ระบบนิ้ว และเซนติเมตร
                ฉาก
                   

                ฉาก ใช้สำหรับการวัดขนาดตั้งฉากของวัสดุสามารถที่จะวัดมุมได้ เช่น 45 องศา และมุม 90 องศา หรืออาจใช้สำหรับตรวจสอบหน้าไม้
การใช้งานและการบำรุงรักษา
1.             ควรทำความสะอาดหลังจากการใช้ทุกครั้ง ควรใช้น้ำมันทาไว้บาง ๆ เพื่อป้องกัน
การเกิดสนิม
2.             ไม่ควรทำเครื่องมือวัดระยะหล่นจะทำให้ชำรุดและใช้วัดระยะได้ไม่ถูกต้อง
3.             ไม่ควรใช้ฉากเคาะหรืองัดสิ่งของ
4.             การใช้เครื่องมือวัดระยะไม่ควรจะโยนเครื่องมือ จะทำให้คลาดเคลื่อนได้
5.             หมั่นตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือวัดเสมอ ๆ
6.             ไม่ควรวางรวมกับวัสดุหรือเครื่องมืออื่น ๆ ควรเก็บแยกออกต่างหาก








เครื่องมือไส หรือกบไสไม้

                เครื่องมือไส หรือกบไสไม้ คือเครื่องมือที่ใช้สำหรับปรับผิวของหน้าไม้ให้เรียบ ซึ่งปกติผิวหน้าไม้จะขรุขระก่อนที่จะนำมาใช้งานจึงต้องปรับแต่งให้เรียบเสียก่อน การปรับผิวของหน้าไม้ให้เรียบ ทำได้ 2 ลักษณะ คือ การปรับผิวเรียบธรรมดาโดยใช้กบล้าง และการปรับผิวละเอียด
โดยใช้กบผิว
กบล้าง
ใช้สำหรับไสไม้ที่ผิวขรุขระหรือการปรับผิวธรรมดา ใบกบจะทำมุมกับตัวกบประมาณ
45 องศา
กบผิว
ใช้สำหรับงานไสแต่งผิวเรียบชนิดระเอียดยิ่งขึ้น ใบกบจะทำมุมกับตัวกบประมาณ
60 องศา
การใช้งานและการบำรุงรักษา
1. ก่อนที่จะไสควรตรวจดูว่ามีสิ่งแปลกปลอมที่ไม้หรือไม่ เช่น ตะปู ลวด ดิน ถ้ามี
ควรเอาออกเสียก่อน
2. การไสไม้ผิวขรุขระมาก ๆ ควรใช้กบล้างไสก่อนแล้วจึงใช้กบผิวไส
3. การไสกบควรออกแรงที่มือทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน
4. ก่อนการไสควรจับยึดไม้ให้แน่น
5. ไม่ควรปรับแต่งกบให้กินไม้มากเกินไป
6. การปรับแต่งกบควรใช้ค้อนไม้เคาะที่ท้ายกบเบา ๆ ไม่ควรใช้โลหะเคาะ
7. ไม่ควรวางกบตากแดดตากฝน จะทำให้ชำรุดได้ง่าย
8. หลังจากใช้งานเช็ดกบให้สะอาด ทาน้ำมันกันสนิมที่ใบกบ

เครื่องมือเจาะ หรือสิ่ว


                เครื่องมือเจาะ หรือสิ่ว คือเครื่องมือที่ใช้สำหรับงานเจาะรู หรืออาจใช้แต่งผิวไม้ใช้ใน
ที่แคบ ๆ ไม่สามารถที่จะใช้เครื่องมืออื่น ๆ ได้ เช่น สิ่วใช้ในงานขุด เจาะ แต่งมุมหรือแต่งผิวไม้
สิ่วจะประกอบด้วยสำคัญ
2 ส่วน คือ ส่วนด้ามและส่วนใบ
การใช้งานและการบำรุงรักษา
1. ขณะใช้สิ่วควรจับที่ด้ามจับและตามองที่ปากสิ่ว
2. ควรแต่งคมสิ่วให้คมอยู่เสมอ
3. หลังจากใช้งานควรทำความสะอาดและทาน้ำมันบาง ๆ ที่ปากสิ่ว
4. ไม่ควรใช้สิ่วงัดแงะสิ่งของที่เป็นโลหะจะทำให้คมสิ่วเสียได้
5. สิ่วจัดเป็นเครื่องมือที่มีคมขณะใช้งานควรระมัดระวัง ไม่ควรพกสิ่วไว้ที่ตัว
6. ควรเก็บสิ่วแยกออกจากเครื่องมือ ๆ หลังจากเลิกใช้งานแล้ว